Last updated: 2017-09-03 | 6784 จำนวนผู้เข้าชม |
หนึ่งชีวิตน้อย ๆ ในท้องคุณแม่ จะสมบูรณ์แข็งแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสารอาหารที่คุณแม่รับประทานด้วย ดังนั้นเมื่อคุณแม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์การใส่ใจในโภชนาการตั้งแต่แรกเริ่มนั้นสำคัญมากนะคะ
ในช่วงท้องอ่อนๆ ของไตรมาสแรกถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดที่คุณแม่ควรเอาใจใส่ดูแลตัวเองให้มาก นอกจากการระมัดระวังตัวเองเป็นพิเศษแล้ว อาหารการกินก็ต้องใส่ใจไม่น้อย อาหารสำหรับคนท้องอ่อน ไตรมาสแรกคุณแม่ควรได้กินอะไรบ้าง?
อาหารสำหรับคนท้องอ่อน 1 – 12 สัปดาห์คุณแม่และลูกในครรภ์ควรกินอะไร
เริ่มตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์
ในช่วงนี้คุณแม่หลายคนอาจยังไม่รู้ตัวว่ากำลังตั้งครรภ์ ซึ่งก่อนหน้าที่พ่อแม่ได้วางแผนมีลูก ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ควรเตรียมร่างกายด้วยการทานอาหารที่อุดมไปด้วยโฟลิกหรือโฟเลตเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
ตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์
นอกจากการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เป็นประจำ ควรเสริมด้วยผัก ผลไม้ นม ด้วยนะคะ
ตั้งครรภ์ 3 สัปดาห์
ทานสารอาหารที่มีโฟเลตอย่างต่อเนื่องตลอดการตั้งครรภ์ จะช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดแดงและเซลล์ของตัวอ่อนมีความแข็งแรง จะช่วยป้องกันและลดปัญหาความผิดปกติของพัฒนาการทางสมองและระบบประสาททารกในครรภ์ โดยสารอาหารที่มีโฟเลตสูงจะอยู่ในพวกเนื้อสัตว์ ผักใบเขียว
ตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์
ช่วงนี้คุณแม่จะเริ่มแพ้ท้องแล้วค่ะ จำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ซึ่งเป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง เป็นตัวนำออกซิเจนจากปอดไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ช่วยไม่ให้เกิดเลือดจาง สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ธาตุเหล็กจะทำให้เม็ดเลือดแดงมีมากพอที่จะลำเลียงออกซิเจนจากเลือดแม่ไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งไปสู่ลูกผ่านรกด้วย อาหารที่มีธาตุเหล็กประกอบมีอยู่หลายชนิด เช่น ในอาหารกลุ่มธัญพืช ถั่วตระกูลต่าง ๆ ตับไข่แดง ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ เป็นต้น
ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์
ช่วงนี้คุณแม่ควรได้รับอาหารที่มีโปรตีนสูง ที่อยู่ในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อปลา เป็ด ไก่ ไข่ นม ถั่ว เต้าหู้ นม โยเกิร์ต ชีส และพืชตระกูลถั่ว จะช่วยต่อการสร้างอวัยวะต่าง ๆ และส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกได้ดี
ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์
คุณแม่บางคนเริ่มมีอาการแพ้ท้องที่รุนแรง สามารถบรรเทาอาการนี้ได้โดยกินขนมปังหรือบิสกิต จิบน้ำขิง จะช่วยให้บรรเทาอาการแพ้ท้องให้ดีขึ้น
ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์
คุณแม่ท้องควรได้ทานสารอาหารที่มีโอเมก้า 3 เสริมระหว่างที่ตั้งครรภ์ จะทำให้ทารกในครรภ์มีความฉลาด และระบบสายตาดี และยังช่วยป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคหัวใจ โรคหอบหืด ข้ออักเสบ รวมทั้งมะเร็งเต้านม เป็นต้น สารอาหารที่มีโอเมก้า 3 จะอยู่ในอาหารจำพวก น้ำมันปลา ปลาแซลมอน, ปลาซาร์ดีน, ถั่วต่าว ๆ เช่น อัลมอล, ถั่วเหลือง เมล็ดฟักทอง และยังคงทานสารอาหารที่มีโฟเลต โฟลิก อย่างสม่ำเสมอนะคะ
ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์
หมั่นรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ควบคู่ไปกับสารอาหารที่มีวิตามินต่าง ๆ วิตามินช่วยให้ร่างกายนำโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตั้งครรภ์ 9 สัปดาห์
ยังควรกินอาหาร 5 หมู่ที่มีสารอาหารโปรตีน โฟเลต แคลเซียม วิตามินต่าง ๆ เป็นประจำ
ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์
คุณแม่ควรเริ่มงดกินอาหารที่มีวิตามินเอสูง เช่น ตับ ไข่ แครอท เพราะอาหารกลุ่มนี้หากรับประทานในปริมาณที่สูงมาก คือเกินกว่าวันละ 10,000 IU ขึ้นไปจะมีอัตราการคลอดทารกที่มีความพิการมากกว่าคนทั่วไป 3.7 เท่า ทารกในครรภ์อาจเป็นอันตรายได้
ตั้งครรภ์ 11 สัปดาห์
เข้าสู่เดือนที่ 3 อัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์จะเร็วกว่าปกติ การรับประทานวิตามินบี 3 ที่สามารถพบพบมากในอาหารจำพวก ปลา เนื้อสัตว์ ไก่ เห็ด ถั่ว มีส่วนสำคัญในเรื่องของกระบวนการเผาผลาญของร่างกาย และยังช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ด้วย ในช่วงนี้คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีไขมันและมีรสจัดนะคะ
ตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์
ในช่วงตั้งครรภ์ร่างกายมีความต้องการน้ำมากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์ควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ วิธีการสังเกตว่าดื่มน้ำเพียงพอหรือไม่ ให้ดูจากสีปัสสาวะ หากเป็นสีเหลืองจาง ๆ แสดงความคุณแม่ดื่มน้ำเพียงพอ แต่หากปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้มมาก แสดงว่าร่างกายขาดน้ำ
ขอบคุณข้อมูลจากเวปไซค์ th.theasianparent
Apr 03, 2018
Apr 03, 2018
Apr 03, 2018
Apr 03, 2018